การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์



การดำเนินการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาจะบรรลุผลได้นั้นจะต้องอาศัยการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายดำเนินการพัฒนาทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมอบหมายภารกิจในการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในห้องเรียน ให้ครูผู้สอน  แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นผู้รับผิดชอบโดยสอดแทรกการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในชั่วโมงการเรียนการสอน/กิจกรรมโครงการ หรือในโอกาสอื่น ๆ  ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการหลายรูปแบบ   สถานศึกษาสามารถเลือกนำไปใช้ได้ตามความเหมาะสม  
  
  รูปแบบที่ ๑  เป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับสถานศึกษาที่มีความพร้อมในด้านทรัพยากรต่าง ๆ  ค่อนข้างสูงถึงสูงมาก  และเหมาะสำหรับสถานศึกษาที่ต้องการเน้นด้านการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สู่ความเป็นเลิศ โดยมีนโยบายที่จะให้บุคลากรและครูทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกข้อตามที่สถานศึกษากำหนดโดยจะมีคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา เป็นองค์คณะบุคคลในสถานศึกษาที่คอยช่วยเหลือคณะครู  ในกรณีที่พบว่านักเรียนบางคนมีปัญหาที่ซับซ้อนและ  ไม่สามารถจะพัฒนาด้วยกระบวนการธรรมดได้  มีความจำเป็นต้องทำกรณีศึกษา  คณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับครูประจำชั้น  หรือครูที่ปรึกษา  หรือครูคนอื่นที่สนใจจะทำกรณีศึกษาร่วมกัน นอกจากนี้อาจนำสภานักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย โดยสถานศึกษารับฟังความคิดเห็นของสภานักเรียน  ถึงวิธีการที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ด้วยกิจกรรมเสริม  ซึ่งจะเน้นการพัฒนาและตรวจสอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกประการตลอดเวลา  ทั้งนี้สถานศึกษาอาจมีเป้าหมายว่า นักเรียนร้อยละ ๙๐ ขึ้นไปจะต้องมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับ ดีเป็นอย่างน้อย   การประเมินรูปแบบนี้ดำเนินการดังนี้
. คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาทำความเข้าใจกับคณะครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา  ครูที่ปรึกษา  ครูผู้ดูแลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ร่วมกันพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทุกคุณลักษณะและร่วมกำหนดตัวชี้วัดหรือพฤติกรรมบ่งชี้หรือพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละคุณลักษณะตามที่คณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับธรรมชาติของวัย
กำหนดวิธีการประเมิน  เกณฑ์และเครื่องมือ คำอธิบายคุณลักษณะที่สถานศึกษาเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด
. กำหนดระดับของพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่า พฤติกรรมนักเรียนอยู่ในระดับ เสี่ยง”   กล่าวคือ การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้วยวิธีปกติอาจจะไม่สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเกณฑ์ได้มีความจำเป็นที่ครูที่ปรึกษา หรือครูผู้สอนร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันประสงค์ของสถานศึกษาต้องใช้กระบวนการอื่นเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาโดยทำกรณีศึกษา
เมื่อสิ้นภาคเรียน/สิ้นปี ครูผู้สอนส่งผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกคนที่รับผิดชอบให้คณะกรรมการของสถานศึกษา  ซึ่งมีครูวัดผลเป็นเลขานุการ
. ครูวัดผลดำเนินการประมวลผลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  
๔.     นำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ